1.
ก่อนซื้อเกม
กำหนดกติกาพื้นฐาน
ถ้าจะมีเกมในบ้าน ต้องกำหนดเวลา
และเงื่อนไขในการเล่น เช่น
เล่นได้หลังทำการบ้านเสร็จ
เล่นเกมได้ตั้งแต่เวลา 17.00-19.00 น.(เวลาที่ใช้กับจอตู้ หรือจอโทรทัศน์
รวมกันแล้วไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง
2.
อย่าเปิดโอกาสให้เด็กเล่นโดยขาดการควบคุม
3.
เบนความสนใจเด็กไปสู่เรื่องอื่น สร้างวงจรชีวิตที่เป็นสุขหลายแบบ Balanced
activities (art, music, aerobic
exercise,) ที่ทำให้เพลิดเพลิน แต่เหมาะสมเป็นที่ยอมรับ ทำให้สนุก ครอบครัวมีส่วนร่วม มีความสมดุลในพัฒนาการทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์
สังคม
4.
สร้างความสนใจไปสู่กิจกรรมที่ทำร่วมกับผู้อื่นที่ดี เช่นกลุ่มกิจกรรม ค่าย
กลุ่มบำเพ็ญประโยชน์
ทัศนศึกษา กีฬา
5.
ถ้าจะอนุญาตให้เล่น
ควรจำกัดเวลาไม่เกิน 2 ชม(
รวมทั้งเวลาดูโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต) ฝึกให้ แบ่งเวลา วางแผนการใช้เวลาให้มีคุณภาพ และทำได้จริงตามที่วางแผนไว้
6.
กำกับให้เด็กทำตามกติกา
7.
ถ้ามีการละเมิดกติกา
มีมาตรการจัดการอย่างจริงจัง แต่นุ่มนวล
8.
มาตรการจริงจัง
มีการคิดและวางแผนร่วมกันล่วงหน้าไว้แล้ว
เช่น
“อยากให้พ่อเตือนก่อนหมดเวลา หรือไม่”
“ถ้าเตือนแล้วไม่สามารถหยุดตามเวลาได้
อยากให้พ่อทำอย่างไร”
“พ่อจะเตือนเพียงครั้งเดียวก่อนหมดเวลา 5 นาที
หลังจากนั้นถ้าไม่หยุดตามเวลา พ่อจะถอดปลั๊กออก”
“ถ้ามีการละเมิดเกินวันละ1 ครั้ง (หรือสัปดาห์ละ3
ครั้ง) จะให้พ่อทำอย่างไร”
“เป็นอันว่าถ้าเกินเวลาที่ตกลงกันใน 1 สัปดาห์
พ่อจะงดการเล่นเกมเป็นเวลา 1 สัปดาห์”
อ้างอิง : http://www.psyclin.co.th/new_page_46.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น