วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จ

1.พ่อแม่ผู้ใหญ่ตรงกัน เป็นทีม เสริมกัน

2.มองในแง่ดี

3.ชมเชยข้อดี ความสำเร็จ

4.desensitization มีกิจกรรมเสริม ทดแทน ให้สนุกสนาน อย่าห้ามเฉยๆ

5.คอยกำกับให้เป็นไปตามที่ตกลง เอาจริง สม่ำเสมอ ไม่รุนแรง เอาจริง อย่างนุ่มนวล

6.มีวิธีเตือนดีๆ มองในแง่ดี ตกลงวิธีเตือน

ปัจจัยรบกวนความสำเร็จ

1.เตือนบ่อยๆ

2.บ่น ดุ ว่า ท้าวความ

3.ปล่อย ไม่สนใจ ไม่มีเวลา

4.หงุดหงิด อารมณ์เสียใส่กัน

5.พ่อแม่แตกคอกัน ขัดแย้งกัน ยอมเด็กไม่เท่ากัน

อ้างอิง : http://www.psyclin.co.th/new_page_46.htm

การจัดระเบียบในบ้าน

1.       ก่อนซื้อเกม  กำหนดกติกาพื้นฐาน  ถ้าจะมีเกมในบ้าน  ต้องกำหนดเวลา และเงื่อนไขในการเล่น  เช่น เล่นได้หลังทำการบ้านเสร็จ  เล่นเกมได้ตั้งแต่เวลา 17.00-19.00 น.(เวลาที่ใช้กับจอตู้ หรือจอโทรทัศน์ รวมกันแล้วไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง

2.       อย่าเปิดโอกาสให้เด็กเล่นโดยขาดการควบคุม

3.       เบนความสนใจเด็กไปสู่เรื่องอื่น สร้างวงจรชีวิตที่เป็นสุขหลายแบบ Balanced activities (art,  music, aerobic exercise,) ที่ทำให้เพลิดเพลิน  แต่เหมาะสมเป็นที่ยอมรับ  ทำให้สนุก ครอบครัวมีส่วนร่วม  มีความสมดุลในพัฒนาการทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม

4.       สร้างความสนใจไปสู่กิจกรรมที่ทำร่วมกับผู้อื่นที่ดี  เช่นกลุ่มกิจกรรม  ค่าย  กลุ่มบำเพ็ญประโยชน์  ทัศนศึกษา   กีฬา

5.       ถ้าจะอนุญาตให้เล่น  ควรจำกัดเวลาไม่เกิน 2  ชม( รวมทั้งเวลาดูโทรทัศน์  อินเทอร์เน็ต)  ฝึกให้ แบ่งเวลา  วางแผนการใช้เวลาให้มีคุณภาพ  และทำได้จริงตามที่วางแผนไว้

6.       กำกับให้เด็กทำตามกติกา

7.       ถ้ามีการละเมิดกติกา  มีมาตรการจัดการอย่างจริงจัง แต่นุ่มนวล

8.       มาตรการจริงจัง  มีการคิดและวางแผนร่วมกันล่วงหน้าไว้แล้ว  เช่น

อยากให้พ่อเตือนก่อนหมดเวลา หรือไม่

ถ้าเตือนแล้วไม่สามารถหยุดตามเวลาได้ อยากให้พ่อทำอย่างไร

พ่อจะเตือนเพียงครั้งเดียวก่อนหมดเวลา 5 นาที หลังจากนั้นถ้าไม่หยุดตามเวลา พ่อจะถอดปลั๊กออก

ถ้ามีการละเมิดเกินวันละ1 ครั้ง (หรือสัปดาห์ละ3 ครั้ง) จะให้พ่อทำอย่างไร


เป็นอันว่าถ้าเกินเวลาที่ตกลงกันใน 1 สัปดาห์ พ่อจะงดการเล่นเกมเป็นเวลา 1 สัปดาห์

ผลกระทบของสื่อ (game) ต่อเด็ก

ประเภทของเกมแบ่งตามลักษณะการเล่น

1. Long term หมายถึงเกมที่มีเนื้อเรื่องยาว หรือมีฉากต่อกันและต้องเล่นให้ผ่านไปฉากต่อไปเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น เกม RPG - FinaFantasy Tales Rockman เกมตะลุยด่าน Mario Rockman DarkCloud
2. Casual เกมที่ไม่เน้นว่าจะต้องเล่นตามเนื้อเรื่อง อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ มักจะจบเป็นฉากต่อฉากไม่ต่อกัน หรืออาจจะไม่มีการผ่านฉาก มีแค่ฉากเดียวแต่จะเพิ่มความยากจนถึงระดับที่ผู้เล่นจะแพ้ไปเอง ตัวอย่างเช่น เกมPuzzle - เกมเต้น เกมแฟลช Tetris หรือเกม Strategy เกม Fighting เช่น DotA
3. Real time เป็นกฎการแบ่งเวลา ให้การเคลื่อนไหวในเกมเป็นการเคลื่อนไหวตามเวลาจริง ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ เกม Action/Adventure หรือ Fighting ที่เน้นการควบคุมอย่างสมจริง เหมาะกับเกมที่เน้นการตอบสนองหรือการมีทักษะ
4. Turn base เป็นกฏการแบ่งเวลา ที่ให้เวลาของเกมไม่อิงกับความเป็นจริง โดยจะมีการหยุดพักให้ผู้เล่นได้คิด เลือก ตัดสินใจทำอะไรในส่วนที่กำหนดไว้ และวางแผนจัดการสิ่งที่ต้องทำ ตัวอย่างเกมประเภทนี้ เช่น เกมกระดานอย่างหมากรุกและเกม Tactics หรือเกม RPG อย่างเช่นไฟนอลแฟนตาซี เกม Strategy อย่าง Heroes of Might and Magic


ปัญหาและประเด็นที่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเล่นเกม

1.ปัญหาอาชญากรรม เช่น การลักขโมยเพื่อนำเงินไปเล่นเกม การบังคับขูดรีดเงินจากคนที่อ่อนแอกว่าเพื่อนำเงินไปเล่นเกมส์
2.ปัญหาการค้ามนุษย์ คือ การที่เด็กต้องเข้าสูการขายบริการทางเพศ หรือการขอทานเพื่อนำเงินมาเล่นเกม
ปัญหาความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา เมื่อเด็กติดเกมแล้ว ถ้าเด็กยังไม่มีวุฒิภาวะพอที่จะแยกแยะเรื่องจริง และเกม อานำความรุนแรงจากเกมมาใช้แก้ไขปัญหาในชีวิตจริง
3.โดนล่วงละเมิดทางเพศ เพราะเด็กส่วนใหญ่จะออกไปเล่นนอกบ้าน และบางเกมยังมีการแชทได้ด้วย ทำให้มีการนัดแนะ และก่อให้การหลอกลวงไปล่วงละเมิดทางเพศ
4.ปัญหาการติดสารเสพติดและยาเสพติด เนื่องจากมีการคบเพื่อนที่หลากหลายมาขึ้น อาจเป็นทั้งผุ้เสพ หรือค้ายาเพื่อนำเงินมาเล่นเกม


ผลกระทบของ game ต่อเด็ก (เชิงพัฒนาการ)
1.      ด้านสุขภาพร่างกาย
1.1.   ภาวะทุพโภชนาการในเด็กเล่นเกม ซึ่งมีทั้งเด็กขาดสารอาหาร และภาวะโภชนาการเกิน  เนื่องจากการที่เด็กเล่นเกมนั้น การใส่ใจในการรับประทานอาหารจะลดลงทั้งในด้านปริมาณ และคุณภาพ เด็กบางคนเล่นจนไม่กินอะไรเลย หรือกินไม่ครบ 3 มือ และอาหารที่กินเข้าไปก็ไม่มีประโยชน์คุณภาพต่ำ และกินซ้ำแบบเดิม เช่น ร้ายเกมบางร้าน มีการขายอาหารสำหรับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารง่ายๆ เช่น มาม่า ข้าวผัด ขนมกรุบกรอบ เป็นต้น ส่วนบางคนนั้นก็จะกินมาก กินแต่ขนม ทำให้ได้รับพลังงานเกิน เพราะขาดการออกกำลังกาย จึงก่อให้เกิดภาวะโภชนาการเกิน หรือโรคอ้วนได้ แต่มีงานวิจัยจากอเมริกาที่กล่าวว่า ผู้ที่เล่นเกมส์มีค่าดัชนีมวลกายปกติ แต่จะมีภาวะซึมเศร้าเพิ่มสูงขึ้น

1.2.   ภาวะพร่อง Growth Hormone(GH)  เนื่องจาก GH จะหลั่งในช่วงระหว่างเที่ยงคืนถึงหกโมงเช้า ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กนอนหลับสนิท ถ้าเด็กเล่นเกมจนอดหลับอดนอน นอนไม่พอ จะทำให้การหลั่งของ GH น้อย ส่งผลให้เด็กเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เพราะ GH เป็นตัวเร่งการเจริญเติบโตด้านร่างกายของเด็ก

1.3.   ร่างกายอ่อนเพลีย เนื่องจากขาดการพักผ่อนส่งผลให้สมองมีความเฉื่อยชา ความสามารถในการเรียนรู้ลดลง เนื่องสมองอ่อนล้า อีกทั้งยังเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน ดังที่ได้เห็นตามสื่อต่างๆ ว่าเล่นจนช๊อคเสียชีวิตคาร้านเกม เป็นต้น

1.4.   เสี่ยงต่อการติดโรคติดเชื้อ เนื่องจากสถานที่เล่นเกมมีผู้ใช้บริการมากมาย หากทางร้านไม่มีมาตรการด้านการรักษาความสะอาดที่ดี จะกลายเป็นแหล่งรังโรค อีกทั้งเด็กที่ติดเกมยังขาดพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และสุขอนามัยที่เหมาะสม ขาดการพักผ่อน มีภาวะขาดสารอาหาร จึงง่ายต่อการติดโรคติดเชื้อได้ เช่น ในกรณีไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นต้น

1.5.   จากงานวิจัยของโรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่าการเล่นเกมทำให้ค่า IQ สูงขึ้น มีสมาธิดีขึ้น แต่ความเก่งที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ส่งผลต่อระดับผลการเรียนของเด็ก แต่เด็กจะมีสมาธิในการเล่นมากขึ้น ซ้ำยังส่งผลให้ผลการเรียนตกต่ำอีกด้วย

1.6.   ปวดขอมือ เนื่องจากการเล่นต้องใช้กล้ามเนื้อส่วยนี่เป็นเวลานาน อาจเกิดการอักเสบได้

1.7.   เกิด Carpal tunnel Syndrome มีอาการตาแห้ง ล้า จากแสงของจอคอมพิวเตอร์ เนื่องจากการเล่นเกมตองมีการเพ่งและใช้สายตามาก อีทั้งยังมีอาการปวดศีรษะ และปวดหลัง ร่วมด้วย

2.      ด้านสุขภาพจิต
2.1.   ทำให้โอกาสที่จะสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นน้อยลง กลายเป็นคนแปลกแยก ไม่มีสังคมเพราะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเล่นเกม ทำให้เด็กอาจมีพฤติกรรมกลัวสังคมได้ ซึ่งจะมีอาการปิดตัวไม่สุงสิงกับใครเก็บตัวอยู่ในห้องเพียงลำพัง

2.2.   การที่เด็กเล่นเกมที่รุนแรงมากและใช้เวลาในการเล่นติดต่อกันต่อครั้งนานเกินไปทำให้เกิดผลเสียทางด้านอารมณ์ เด็กจะก้าวร้าวรุนแรง ชอบเอาชนะ โมโหร้าย นอกจากนั้นยังจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมดื้อ ต่อต้าน และหดหู่ ซึมเศร้าหากไม่ได้เล่นเกม

2.3.   เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบ เนื่องจากเด็กในช่วงวัยรุ่น ตามทฤษฎีของ Erikson นั้น เป็นช่วงที่กำลังคนหาตัวเอง และมักหาตัวแบบในการเลียนแบบในสิ่งที่ตนเองชอบ อีกทั้งเด็กวัยนั้น สมองส่วนหน้ายังพัฒนาไม่สมบูรณ์ทำให้ความยับยั้งชังใจยังไม่ดีพอ อาจแยกไม่ออกระหว่างโลกของความเป็นจริงกับเกม อาจนำวิธีที่ใช้ในเกมมาแก้ปัญหาของตนเองได้ ดังที่ได้เห็นจากข่าวต่างๆ ที่ปรากฏ มีการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา

2.4.   ภาวะความฉลาดทางอารมณ์ต่ำ ในช่วงวัยเด็ก และวัยรุ่น หากมองตามทฤษฎีของ Visgosky นั้น การที่เด็กเรียนรู้อะไรนั้น จำเป็นต้องมีตัวช่วยในการส่งเสริม แต่ถ้าเด็กเล่นเกมมากก็จะขาดตัวเสริมเหล่านี้ ทำให้เด็กเรียนรู้ตามมีตามเกิด หรืออาจเดินผิดทางได้ ส่งผลระยะยาวให้เด็กขาดทักษะในการดำรงชีวิตต่อไปในอนาคต

3.      ด้านสังคม
3.1.   เด็กจะไม่ไปโรงเรียนหรือไปโรงเรียนสายเพราะเอาเวลาไปเล่นเกม ซึ่งเป็นผลทำให้มีผลการเรียนตกต่ำ ไม่ยอมทำการบ้าน ไม่อ่านหนังสือ ไม่มีสมาธิในการเรียน สมองเฉื่อย สุดท้ายส่งผลให้เด็กเรียนไม่จบ

3.2.   ด้านพฤติกรรม เกิดปัญหาเด็กโกหก ลักขโมย ทำร้ายร่างกายผู้อื่น เกิดปัญหาภายในครอบครัว เพราะเด็กจะติดเกมจนไม่เชื่อฟังผู้ปกครอง หรือเด็กอาจขโมยหรือหลอกเอาเงินจากผู้ปกครองไปเล่นเกม ทำให้ขาดความสัมพันธ์ในครอบครัว ไม่มีเวลาให้กัน ขาดความเข้าใจ โกรธใส่กัน

3.3.   แต่ก็มีผลดีทำให้เกิดการเรียนรู้ในการเข้าสังคม เพราะในเกมออนไลน์จะมีการแชทพูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างผู้เล่นด้วยกัน มีการให้ความช่วยเหลือกัน และมีการร่วมเล่นกันเป็นทีม เช่น Mimi Ito นักมานุษยวิทยา จาก Southern California University กำลังทำการวิจัยเรื่องการสื่อสารรูปแบบใหม่ ในผู้ที่เล่นเกม Real-Life Local Friends ที่กระตุ้นให้มีการเข้าสังคมมากขึ้น


Pre - Production (การเตรียมงานถ่าย)

ในการทำหนังสั้น นะครับ จะมีขั้นตอน หลักอยู่ 3 ขั้นตอนด้วยกัน นั่นก็คือ
Pre - Production (การเตรียมงานถ่าย)
Production (การถ่ายทำ)
Post - Production (ช่วงเก็บรายละเอียด - ตัดต่อ)

ในวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง Pre - Production (การเตรียมงานถ่าย) กันนะครับว่ามีกระบวนการอะไรบ้าง

หลายคนที่เคยทำหนังสั้น หรือ ยังไม่เคยนะครับ เชื่อว่าต้องผ่านกระบวนการนี้นั่นก็คือการเขียนบท การเขียนบทนั้นก็จะมีขั้นตอนในการเขียนดังนี้
Theme>Plot>Outline>Treatment>Screenplay

Theme คืออะไร
   Theme  คือแก่นของเรื่อง  เรื่องเล่าถูกกำหนดให้มองผ่าน ธีม (theme) เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางที่ชัดเจนของเรื่อง และส่งผลต่อการพัฒนาเรื่องเป็นบทภาพยนตร์ต่อไป
Plot คืออะไร
   Plot คือโครงเรื่อง หมายถึงการกำหนดผ่านรายละเอียดสำคัญ (ตัวละครหลัก , ปมขัดแย้งสำคัญ) หรือ เข้าใจง่ายๆ คือ การเขียนเรียงความนั่นเอง
Plot จะมีโครงสร้างง่ายๆ คือ หลัก 3 องค์
องก์ที่ 1 = เปิดเรื่อง สร้างโลก ปูพื้น และ ปมปัญหา
องก์ที่ 2 = ดำเนินเรื่องการเผชิญหน้า และทางออก ของปมปัญหา
องก์ที่ 3 = climax  การแก้ปมปัญหา และบทสรุป
ตัวอย่างการเขียน Plot
   "ชายหญิงสองคน กำลังเข้านอนแต่สายตาของ ชายได้เห็นเงาดำๆผ่านหน้าต่างไป ชายหนุ่มได้บอกกับแฟนสาวแต่เธอดูจะไม่สนใจ แล้วก็บอกให้ชายหนุ่มเข้านอน ทั้งคู่หลับไปเงาดำนั้นก็ผ่านมาอีกแต่ครั้งนี้ดูใกล้กว่าเดิม ชายหนุ่มสะกิดแฟนสาวแต่เธอก็ไม่สนใจ เพราะอยากจะนอนแล้ว ชายหนุ่มเผลอหลับไป เงาดำนั้นก็เข้ามาใกล้ห้องแท้จริงแล้วเงาดำนั้นคือโจรที่ย่องมาจะขโมยของในห้อง หญิงสาวลุกออกไปเข้าห้องน้ำ โจรอาศัยมุมมืดพลางตัวทำให้เธอไม่ทันสังเกตุ โจรย่องไปเข้าห้อง ชายหนุ่มรู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างเข้ามา ลุกขึ้นมามองทั่วๆแล้วหันไปสะกิดแฟนสาวแต่เธอไม่อยู่ ชายหนุ่มคิดแต่ว่าเค้าต้องโดนผีหลอกแน่แล้ว รีบเปิดไฟแต่ตรงสวิทไฟ เป็นโจรอยู่พอดี โจรรีบดับไฟ ชายหนุ่มยิ่งคิดว่าเป็นผี แฟนสาวกลับเข้ามาเห็นชายหนุ่ม ตกใจจึงเปิดไฟ เห็นโจรอยู่ตรงหนัา ทั้ง3ตกใจ โจรไหวตัวทันวิ่งหนีออกไป"
Outline คืออะไร
   Outline เป็นขั้นตอนต่อเนื่องของการพัฒนาบทภาพยนตร์จากโครงเรื่อง(Plot) มาเป็น Outline ใช้วิธีการเขียนที่เน้นบอกเรื่องราวผ่านตัวละครและเหตุการณ์สำคัญในแต่ละฉาก โดยเรียงลำดับฉากแรกจนถึงฉากสุดท้าย
ตัวอย่างการเขียน Outline
   1.ชายหนุ่มกำลังเดินไปหาแฟนสาวของเขาแต่สายตาของเขานั้นได้เหลือบไปเห็นเงาดำๆ แต่แฟนสาวไม่สนใจ
   2.เมื่อทั้งคู่กำลังจะนอน ชายหนุ่มก็เห็นเงาดำนั้นอีกแต่แฟนสาวของเขาก็ยังไม่เชื่อที่ชายหนุ่มบอก
Treatment คืออะไร
   Treatment หรือ บทภาพยนตร์แบบโครงร่าง
- การเขียนบรรยายรายละเอียดที่เกิดขึ้นในแต่ละฉากภาพยนตร์
- การเขียนแสดงรายละเอียดสำคัญที่ประกอบด้วย ชื่อตัวละครสำคัญ ทำอะไรในฉากนั้น ทำด้วยความรู้สึกอย่างไร ทำไมต้องทำให้เกิดเหตุการณ์นั้น และส่งผลกระทบต่ออะไร
- การเขียนโดยรู้ว่าต้องการระบุประเด็นสำคัญในแต่ละฉากภาพยนตร์ อะไรคือประเด็นสำคัญที่ต้องบอกในฉากนั้นๆ

การเขียน Treatment ต้องเขียนผ่าน Scene
Treatment ไม่เหมือน Outline เพราะ outline เขียนโดยย่อเพื่อระบุเหตุการณ์ในแต่ละฉากภาพยนตร์ แต่ Treatment คือการเขียนเพื่อแสดงรายละเอียดสำคัญในฉากภาพยนตร์ และเขียนเพื่อบรรยายอารมณ์ในฉากนั้นๆ

ตัวอย่างการเขียน Treatment
Scene 1 ภายใน/ห้องนั่งเล่น/กลางคืน
หนึ่งชายหนุ่มที่ขี้เซา เป็นคนที่ไม่เคยจริงจังกับเรื่องอะไรแม้แต่แฟนของเค้า หนึ่งเดินมาที่ห้องนั่งเล่นเพื่อจะพาใหม่แฟนสาวของเค้าไปเข้านอน เมื่อหนึ่งเดินมาถึงสายตาของเขาได้เหลือบไปเห็นเงาดำๆ ลักษณะเหมือนคนผ่านที่หน้าต่างไป หนึ่งแปลกใจว่าเงานั้นคืออะไร ในใจก็คิดไปต่างๆนาๆว่าจะเป็นผีหรือขโมย หนึ่งบอกใหม่แต่ใหม่ก็รู้ว่าหนึ่งไม่เคยพูดอะไรจริงจังจึงรีบให้หนึ่งเข้านอนไป

Screenplay คืออะไร
   Screenplay เป็นขั้นตอนต่อเนื่องจากพัฒนาบทภาพยนตร์จาก Treatment มาเป็น Screenplay จะมีรายละเอียดเหมือนกับ Treatment แต่จะเพิ่มเป็น บทพูด(Dialog) เพื่อให้นักแสดงใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์
ตัวอย่างการเขียน Screenplay
Scene 1 ภายใน/ห้องนั่งเล่น/กลางคืน

หนึ่ง ชายหนุ่มที่ขี้เซา เป็นคนที่ไม่เคยจริงจังกับเรื่องอะไรแม้แต่แฟนของเค้า หนึ่งเดินมาที่ห้องนั่งเล่นเพื่อจะพาใหม่แฟนสาวของเค้าไปเข้านอน เมื่อหนึ่งเดินมาถึงสายตาของเขาได้เหลือบไปเห็นเงาดำๆ ลักษณะเหมือนคนผ่านที่หน้าต่างไป หนึ่งแปลกใจว่าเงานั้นคืออะไร ในใจก็คิดไปต่างๆนาๆว่าจะเป็นผีหรือขโมย หนึ่งบอกใหม่แต่ใหม่ก็รู้ว่าหนึ่งไม่เคยพูดอะไรจริงจังจึงรีบให้หนึ่งเข้า นอนไป

อ้างอิง : http://makeshortfilms.blogspot.com/

การเตรียมงานเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์

หาสถานที่ถ่ายทำ(Location)
เมื่อบทภาพยนตร์พร้อมถ่าย ผู้กำกับต้องการสถานที่แบบไหน ทีมงานก็จะต้องหาสถานที่เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้กำกับเพื่อให้ดูสมจริง น่าเชื่อถือ และออกมาสวยงาม
หานักแสดง(Casting)
การหานักแสดงต้อง ให้บุคลิกของตัวละครออกมา ตามที่ผู้กำกับต้องการ
เตรียมอุปกรณ์ประกอบฉาก
หน้าที่นี้จะเป็นของผู้กำกับศิลป์ที่จะต้อง ดูบทแล้วทำเข้าใจ ต้องดูว่าฉากไหนต้องมีอุปกรณ์แบบไหนอยู่ในฉาก แล้วจัดเตรียมไว้สำหรับการถ่ายทำที่จะเกิดขึ้น และต้องเป็นไปตามที่ผู้กำกับต้องการ ในบางฉากอาจจะต้องเตรียมไว้สำรองเช่น หมวกที่จะต้องเลาะเลือด เพราะอาจจะเกิดการพลาดแล้วต้องถ่ายใหม่ เพราะฉนั้นจำเป็นที่จะต้องเตรียมอุปกรณ์ไว้สำรองเพื่อทดแทนกันได้
การWorkshop ทีมงาน นักแสดง 
หากการถ่ายทำต้องมีเทคนิคพิเศษ เช่น ฉากแอคชั่นต้องมีระเบิด ฉากนักแสดงถูกรถชน ต้องมีการมาเตรียมก่อนว่าจะใช้เทคนิคอย่างไร ทีมงานจะต้องรับผิดชอบในหน้าที่นี้ เพื่อความปลอดภัยของทุกคน
ส่วนนักแสดง ก็ต้องมาพบปะพูดคุยกัน เพราะส่วนใหญ่แล้วนักแสดงจะไม่รู้จักกัน ก็จะต้องมาพูดคุย ซ้อมบทคร่าวๆ เพื่อจะได้ไม่เขินอายในวันที่ถ่ายจริง
กำหนดวันถ่ายทำภาพยนตร์
ผู้ช่วยผู้กำกับจะต้อง ดูว่าทุกฝ่ายว่างตรงกันเมื่อไร วันที่ถ่ายเหมาะสมกับสภาพ ลม ฟ้า อากาศ หรือไม่ เหมาะสมกับสถานที่ ที่จะไปถ่ายทำหรือไม่ เช่น ถ่ายฉากในโรงเรียน หากต้องการความสงบก็ควรจะถ่ายในวันเสาร์-อาทิตย์ แต่ถ้าต้องการให้เห็นบรรยากาศของนักเรียนก็ควรจะถ่ายวันจันทร์-ศุกร์

อ้างอิง : http://makeshortfilms.blogspot.com/

การกำหนดขนาดภาพในภาพยนตร์

ECU ( Extreme Close Up) - ลักษณะภาพแบบนี้จะเป็นการถ่ายภาพในระยะใกล้มากๆ ใช้ขับเน้นรายละเอียด หรือใช้เน้นและจับความรู้สึกของตัวละครนั้นให้เด่นออกมา และ ให้ความรู้สึกกดดัน เช่นภาพที่จับแค่ดวงตา หรือ ริมฝีปากตัวละคร 
CU (Close Up) - ขนาดของวัตถุในภาพจะเล็กกว่า ECU  มองเห็นใบหน้าทั้งหมดลักษณะการใช้งานคล้ายกับ ECU ให้ความรู้สึกกดดันแต่จะน้อยกว่า ECU 
MCU (Medium Close Up) - จับภาพตั้งแต่ช่วงอกขึ้นไป เพื่อจะได้เห็นท่าทางของตัวนักแสดงได้มากขึ้น  
MS (Medium Shot) - เป็นการถ่ายตัวแสดงครึ่งตัวจากเอวขึ้นไป ใช้สำหรับถ่ายทอดท่าทางของตัวนักแสดง โดยที่ไม่มีผลของการเร้าอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นภาพขนาดปกติที่นิยมใช้กัน
MLS (Medium Long Shot) - คล้าย MS โดยที่กล้องจะเก็บภาพไม่เต็มตัว(แต่ก็เกือบจะเต็มตัว) ระยะภาพแบบนี้เริ่มจะกันคนดูออกมาเป็นเพียงผู้สังเกตุการณ์ 
LS (Long Shot) - เป็นการถ่ายที่จะเก็บภาพตัวแสดงเต็มตัว พร้อมๆกับสภาพแวดล้อมรอบข้าง 
ELS (Extreme Long Shot) - เป็นการถ่ายเพื่อให้เห็นบรรยากาศของสถานที่ เช่น การนำกล้องขึ้นเฮลิคอปเตอร์ ถ่ายบรรยากาศเมือง

อ้างอิง : http://makeshortfilms.blogspot.com/

การหาสถานที่ถ่ายทำ (Location)

การหาสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์มีขั้นตอนดังนี้

             1.แยกงานสถานที่จากบทและรวมกลุ่มสถานที่ การเริ่มหาสถานที่ให้นำบทมาอ่านแล้วลำดับรายชื่อสถานที่เกิดขึ้นในบท จากนั้นก็มารวมกลุ่มกันโดยคำนึงถึงกลุ่มสถานที่ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน เพื่อความสะดวก เช่น ฉากทะเล ภูเขา หมู่บ้าน ชาวประมง ร้านอาหารริมทะเล หรือบ้านไม้ ซอยแคบ ถนนลูกรัง หรือโรงภาพยนตร์ ซุปเปอร์มาเกต ร้านไอศกรีม ฯลฯ
             2.ติดต่อสอบถาม เมื่อได้รายชื่อสถานที่แล้ว ให้ติดต่อสอบถามแหล่งต่างๆ เช่น จากเพื่อน ผู้ช่วยผู้กำกับกองถ่ายอื่น เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ตามสถานที่ต่างๆ ดูจากนิตยสารการท่องเที่ยว โปสการ์ด แผ่นพับ เพื่อให้ได้ข้อมูลขั้นต้น ไม่ใช่ออกหาสถานที่เลย เพราะจะประหยัดเวลา ค่าเดินทาง ค่าที่พัก และค่าอาหารได้มาก
             3.บริหารการเดินทาง การออกหาสถานที่ถ่ายทำ หากเช่ารถแล้วควรเริ่มออกแต่เช้าตรู่ บุคคลที่ไปหาไม่ควรเกิน 2 คน คือ ฝ่ายธุรกิจหนึ่ง และผู้ช่วยฝ่ายศิลป์หนึ่ง ฝ่ายธุรกิจดูแลการจัดการ เช่น ระยะทาง ค่าเช่าที่พัก การติดต่อขออนุมัติ ส่วนฝ่ายศิลปะดูความสวยงามทางศิลปะที่สอดคล้องกับบท ใช้กล้องและฟิล์มราคาถูกถ่ายภาพมุมต่างๆ ที่เห็นเหมาะ บางสถานที่ขอภาพถ่ายที่เขามีอยู่แล้ว หรือขอแผ่นพับโฆษณาก็ได้ ในขณะเดียวกันร่างแผนที่และแผนผังพื้นที่มาด้วย
             4.นำภาพถ่ายเข้าที่ประชุม นำภาพถ่ายแผ่นพับ แผนผัง และข้อมูลที่ได้มาเพื่อเข้าที่ประชุมและคัดเลือก

             5.ดูสถานที่จริง เมื่อคัดเลือกสถานที่ขั้นต้นได้แล้ว ขั้นต่อไปผู้กำกับ ผู้กำกับภาพ และผู้กำกับฝ่ายศิลป์ จะเดินทางไปดูสถานที่จริง จะเพิ่มเติมดัดแปลงอะไร จะวางกล้องตรงไหนจะได้ปรึกษากับตอนนี้ เบอร์โทรศัพท์ แผนที่ วันเวลาเปิดปิด เงื่อนไขการเข้าสถานที่ก็ยืนยันความแน่นอนตอนนี้

อ้างอิง : http://samforkner.org/source/dirshortfilm.html